วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อัพเดตข่าววทก.ผ่านเพจเฟซบุ๊ค


วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษกเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 แล้ว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ..

        ถึงแม้โดยรอบวิทยาลัยฯน้ำจะท่วมรอบบริเวณและเดินทางเข้าวิทยาลัยฯโดยลำบากพอสมควรก็ตาม แต่ล่าสุด ทางวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ ได้เปิดทำการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 2/2554 แล้วเมื่อ 14/11/2554 ที่ผ่านมาโดยมีการจัดเรียนการเรียนสอนแบบออนไลน์(elearning online) สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และส่วนนักเรียนชั้นปี 2 การแพทย์แผนไทยจัดการเรียนการสอนภายในวิทยาลัยฯตามปกติ
      โดยนักศึกษาทุกคนสามารถติดตามอัพเดตข่าวสารเกี่ยวกับทางวิทยาลัยฯ ได้ที่เว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ และเฟซบุ๊ควิทยาลัยฯ หรือคลิกที่รูปแบนเนอร์ด้านบนก็ได้ครับ กด like ก็สามารถติดตามเพจ
วทก.ของเราได้ตลอดเวลาแล้วละครับ โดยเฉพาะกระแส blackberry ,iphone ที่ไม่มี่ทางตกข่าวทางเพจของวิทยาลัยฯเราแน่นอน ;-D 
    คำแนะนำเล็กน้อย E-learning ของวิทยาลัย
   - จำusername & password ของเราให้ได้ทางที่ดีควรจดไว้
   - สามารถสมัครได้เพียงครั้งเดียว (ป้องกันชื่อซ้ำ)
   - มีปัญหาสงสัยแจ้งได้ที่อ.ธนะเมษฐ์ และจนท.ศูนย์คอมพิวเตอร์สารสนเทศ

อ้างอิงภาพแบนเนอร์ :: หน้าเว็บวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ

                                              นักศึกษาชมรมการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2553

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ครม.ประกาศหยุดยาว 5 วันแก้ปัญหาน้ำท่วม

บทความ[ข่าว] ทั่วไป :: 'ครม.นายก ยิ่งลักษณ์'ประกาศหยุดยาว 5 วันแก้ปัญหาน้ำท่วม

         นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา  กล่าวถึงผลการประชุมครม.ว่า ที่ประชุมครม.ได้มีมติเห็นชอบ ประกาศให้ วันที่  27 ,28  และ 31 ต.ค. ใน 21 จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมให้เป็นวันหยุดข้าราชการ เป็นวันหยุดข้าราชการ ส่วนวันที่ 29 และ 30 เป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ อยู่แล้ว ดังนั้น  จึงถือว่า การประกาศวันหยุดในครั้งนี้ จะมีระยะเวลาทั้งสิ้น 5 วัน

ขอขอบคุณอ้างอิงบทความข่าวจาก : คม ชัด ลึก

วทก.เป็นศูนย์บรรเทาอุทกภัย

วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 
เป็นศูนย์ช่วยเหลือและอำนวยการแก่ผู้่ประสบอุทกภัย(น้ำท่วม) ของจังหวัดนนทบุรีแล้ว

ติดตามดูการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของศูนย์ วทก.ได้ที่เว็บวิทยาลัย kmpht.ac.th  
  - นศ.ชั้นปี 1 โปรดติดตามข่าวการเปิดภาคเรียนที่ 2 /2554 ได้ทางเว็บวิทยาลัย
  - นศ.ชั้นปี 2 บางสาขาเริ่มไปรายงานตัวที่แหล่งฝึกงานตามกำหนดการเดิม สำหรับบางสาขาโปรดติดตามข่าวสารจากประกาศของทางวิทยาลัยฯ และทางภาควิชาของตน ด้วยนะครับ 
  

*  ขณะนี้เว็บวิทยาลัยกำลังปรับปรุงให้มีระบบ INTRANET (เครือข่ายภายใน)บนเว็บไซต์วิทยาลัยครับ
 * นศ.ทุกท่านต้องมี Username / Password สำหรับเข้าระบบพิสูจน์ตัวตนสำหรับเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตของวิทยาลัย

ติดตามอัพเดตข่าวสถานการณ์น้ำท่วมได้ตลอดทาง Thaiflood.com




วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

นโยบายด้านกิจกรรมนักศึกษา ของฝ่ายกิจการนักศึกษา

นโยบายด้านกิจกรรมนักศึกษา ของฝ่ายกิจการนักศึกษา

ตามประกาศของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษกเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๓
  ด้วยทางวิทยาลัยฯ มีการกำกับดูแล สนับสนุน ส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษาทุกรูปแบบกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะของนักศึกษาของวิทยาลัย ที่ส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม บุคลิกภาพ มีความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสามารถการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและมีทักษะทางวิชาชีพ
          ๑.ส่งเสริมงานของสโมสรนักศึกษากำกับดูแลกันเอง เพื่อให้นักศึกษาตระหนักและมีจิตสำนึกในความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม และการรวมกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์
          ๒.ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มุ่งเน้นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชน
           ๓.ส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละหลักสูตรในวิทยาลัย
            ๔.ส่งเสริมกิจกรรมด้านกีฬาเพื่อสุขภาพและความสามัคคีในหมู่นักศึกษา

ข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกาศของทางวิทยาลัย หน้าเว็บไซต์ kmpht.ac.th
นักศึกษาชมรมการประกันคุณภาพการศึกษา

นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2553


นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้

๑.     อาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
๒.    การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.    ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆทั้งภายในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกและนอกสังกัดมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา
๔.    ส่งเสริมให้มีการควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาภายในวิทยาลัย โดยการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของภาค หน่วยงาน อย่างต่อเนื่อง
๕.    สนับสนุนให้มีการดำเนินงานเพื่อพร้อมที่จะรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกวิทยาลัย 

ข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกาศของวิทยาลัย หน้าเว็บวิทยาลัย kmpht.ac.th
OoOo นักศึกษาชมรมการประกันคุณภาพการศึกษา oOoO

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของวทก.

  วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

อัีตลักษณ์
บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ( SAP )
                  SAP ได้แก่ 
                 
                  S : Service Mind     การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
                  A : Analyze            การคิดเชิงวิเคราะห์ ,การใช้ตรรกะ 
                  P : Participation     การมีส่วนร่วม


 



เอกลักษณ์สร้างคนจากชุมชนเพื่อตอบสนองระบบสุขภาพชุมชน

 ==================================================

นักศึกษาและนักศึกษาชมรม QA และบุคลากรของวิทยาลัยฯ ขอต้อนรับท่านผู้มาตรวจประเมินวิทยาลัย(QA)
ในวันที่ 20 - 22 กันยายน 2554 ด้วยความยินดียิ่ง .....

วิสัยทัศน์พันธกิจของวิทยาลัยฯ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ปรัชญา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

ปรัชญา
  การผลิตบุคลากรสายสนับสนุนการบริการสาธารณสุขในสาขาต่าง ๆ ให้มีความรู้วิชาชีพ มีทักษะในการปฏิบัติงาน และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับโดยเฉพาะในระดับ ชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ และทั่วถึง
 
ปณิธาน 

  1. มุ่ง ผลิตบุคลากรสายสนับสนุนบริการสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ ให้มีความรู้ มีความสามารถในการปฏิบัติงาน และมีคุณธรรม จริยธรรมในการให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
  2. มุ่ง พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนบริการสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มี ศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของระบบบริการสาธารณสุข

วิสัยทัศน์

  1. สถาบัน อุดมศึกษาที่ผลิตบุคลากร เพื่อสนับสนุนการบริการสุขภาพแก่ประชาชน ทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรี ให้มีความรู้ เจตคติ ทักษะทางวิชาชีพ มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ใฝ่รู้ เพื่อพัฒนาตนเอง กอร์ปด้วยคุณธรรม จริยธรรม และมีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
  2. สถาบัน อุดมศึกษาที่กระจายโอกาสสู่ชุมชน ให้สามารถเข้าศึกษาในหลักสูตรสายสนับสนุนการบริการสุขภาพ ทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรี จากการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
  3. สถาบันอุดมศึกษาที่มีมาตรฐานการศึกษา พัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้
  4. สถาบัน อุดมศึกษาที่พัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง ให้มีศักยภาพ ตอบสนองความต้องการของระบบบริการสุขภาพ โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
  5. สถาบัน อุดมศึกษาที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม โดยสร้างองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่กับการประยุกต์ใช้วิทยาการสมัยใหม่
  6. พัฒนาสถาบันให้เป็นศูนย์การศึกษาเฉพาะทางด้าานการแพทย์แผนไทย

    พันธกิจ

    1. ผลิตบุคลากรสายสนับสนุนการบริการสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ ให้มีปริมาณและคุณภาพตามความต้องการของระบบบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะในระดับชุมชน
    2. พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนสาขาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ให้มีศักยภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการและเทคโนโลยี
    3. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชุนโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ
    4. สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในระดับชุมชนเป็นสำคัญ
    5. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย
    6. เป็นศูนย์ศึกษาการแพทย์แผนไทย


    นักศึกษาชมรมการประกันคุณภาพการศึกษา (QA) ปีการศึกษา 2553 - 2554
    อ้างอิงข้อมูลจาก วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ (เว็บไซต์ kmpht.ac.th)

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องในงานประกันคุณภาพการศึกษา

คำศัพท์ที่ใช้ในงานประกันคุณภาพการศึกษา

เพื่อให้บุคลากรทุกระดับของวิทยาลัยฯ มีความเข้าใจตรงกันถึงความหมายของคำศัทพ์ที่ใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย จึงได้รวบรวมคำศัพท์ต่างๆ ไว้ดังนี้

1.มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในวิทยาลัย และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับ ดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

2.การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ ตามแผนที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผลผลิตที่เกิดขึ้น มีคุณภาพมาตรฐาน ตามคุณลักษณะที่ต้องการ

3.การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการต่างๆ ภายในวิทยาลัย ที่ส่งเสริมให้การดำเนินงานจัดการศึกษาของวิทยาลัยมีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบ (Quality Audit) และการประเมินคุณภาพ (Qualty Assessment) อย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรของวิทยาลัย มั่นใจว่าการดำเนินงานตามภารกิจมีคุณภาพมาตรฐาน

4.การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หมายถึง การที่วิทยาลัยฯ กำหนดให้หน่วยงานจัดระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้มีระบบตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการภายในด้วย

5.การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) หมายถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของระบบกลไกควบคุมคุณภาพภายในที่สถาบันได้จัดให้มีขึ้น โดยเป็นการตรวจสอบเชิงระบบมุ่งเน้นการพิจารณาว่าสถาบันได้มีระบบการควบคุมคุณภาพหรือไม่ ได้ใช้ระบบพัฒนาขึ้นเพียงใด และมีขั้นตอนการดำเนินการที่ทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ

6.การประเมินคุณภาพภายใน (Internal Quality Assessment) หมายถึง กระบวนการประเมินผล การดำเนินการของวิทยาลัยฯ โดยบุคลากรภายในวิทยาลัยเอง เพื่อประเมินโดยภาพรวมว่า เมื่อได้มีการใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หรือระบบการควบคุมคุณภาพการศึกษาแล้ว ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพมากน้อยเพียงใด

7.การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การที่องค์กรภายนอกตามที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดไว้ ได้ดำเนินการตรวจสอบ/ประเมินระบบ กลไก การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยฯ และเผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานต่อสาธารณะ เพื่อให้สังคมมั่นใจว่าวิทยาลัยฯ มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

8.คู่มือคุณภาพ (Quality Manual) หมายถึง เอกสารที่วิทยาลัย จัดทำขึ้น โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับระบบและกลการประกันคุณภาพ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ตัดสิน การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และการตรวจประเมินคุณภาพภายใน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากร

9.คู่มือขั้นตอนการทำงาน (Procedure Manual) และ วิธีการปฏิบัติงาน (Work Instruction) เป็นเอกสารที่วิทยาลัยฯ จัดทำขึ้น ตามข้อกำหนดระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ครอบคลุมกระบวนการจัดการศึกษาตั้งแต่การนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทั้งนี้ได้คำนึงคุณภาพและเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญต่างๆ

10.คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง เอกสารที่วิทยาลัยจัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ตามตัวบ่งชี้สมรรถนะสำคัญ (KPI)

11.มาตรฐานคุณภาพ หมายถึง มาตรฐานที่ สมศ.กำหนดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องและครอบคลุมกับภาระกิจด้านการจัดการศึกษา อันมีผลต่อการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต ประกอบด้วย มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ มาตรฐานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มาตรฐานด้านพัฒนาสถาบันและบุคลากร มาตรฐานด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน และมาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

12.รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report) หมายถึง รายงานที่วิทยาลัยฯ ทำการรวบรวมข้อมูล และศึกษาการดำเนินงานด้านต่างๆ ของตนเอง เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจประเมินและให้การรับรองคุณภาพการศึกษา รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง

         ชมรมการประกันคุณภาพการศึกษา QA ปีการศึกษา 2553
ดูรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บบอร์ดชมรม http://qakmpht.fix.gs

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของนักศึกษากับ QA

บทบาทของนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา

ความจำเป็นในการพัฒนาบทบาทนักศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา

นักศึกษาในฐานะผู้รับบริการและเป็นผลผลิตสำคัญของวิทยาลัย และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงของวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา จึงมีพันธะสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพการจัดการการศึกษาของสถาบัน มีส่วนร่วมและเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้งานการประกันคุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มีมาตรฐาน QA กำหนดให้มีตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาไว้ในตัวบ่งชี้ที่ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้ทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา มีรายละเอียดดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้ทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา
คำอธิบาย: วิทยาลัยมีการดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและมีส่วนร่วมใน QA เพื่อส่งเสริมให้การประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยให้เข้มแข็งรวมทั้งจัดระบบให้กิจกรรมนักศึกษามีการประกันคุณภาพการศึกษาทุกกิจกรรม
เกณฑ์มาตรฐาน
1.มีระบบการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
2.มีระบบส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้าน QA ไปใช้กับกิจกรรมนักศึกษา
3.มีกลไกให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน หรือวิทยาลัย
4.นักศึกษามีการใช้กระบวนการคุณภาพ ในการพัฒนาทุกกิจกรรมของนักศึกษา
5.นักศึกษาสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพภายใน และระหว่างสถาบัน
6.มีระบบติดตามและประเมินผลการประกันคุณภาพในกิจกรรมที่นักศึกษาดำเนินในส่วนที่นักศึกษามีส่วนร่วมกับ QA
ของสถาบัน
7.มีการนำผลการประเมินไปพัฒนากระบวนการให้ความรู้และกลไกการดำเนินงาน QA ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง
_บทบาทนักศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา
เป็นไปตามตัวบ่งชี้ ๓.๒ ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาที่กล่าวไปแล้ว




_การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา
นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพตามภารกิจของสถาบันและในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสถาบัน ดังนี้

๑) ด้านการเรียนการสอน
นักศึกษาใน วทก.มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ ด้วยตนเองโดยมีการเข้าห้องสมุด หรือห้องบริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตของวิทยาลัยฯ เพื่อค้นคว้าข้อมูลเรื่องที่เรียนเพิ่มเติมหลัง และเมื่อเรียนจบภาค ๑ ภาคเรียนนักศึกษามีส่วนในการประเมินการเรียน และประเมินผลการสอนของอาจารย์ใน วทก. เพื่อให้นำผลการประเมินเหล่านั้นให้อาจารย์ บุคลากร และตัวนักศึกษาได้ปรับปรุงแผนการสอน และการเรียนในภาคการศึกษาถัดไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ในด้านการเรียนการสอนแล้ว ในวิทยาลัยฯ ยังมีชมรมทั้งหมด ๑๑ ชมรมให้นักศึกษาได้สมัครเข้าชมรมและทำกิจกรรมภายในชมรมเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกฝนตัวเอง เพิ่มเติมหรือนอกเหนือจากในตำราเรียน เช่น ชมรมจริยธรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้สวดมนต์เวลา ๒๐.๐๐ น.ทุกคืน ชมรมกีฬา ที่ได้ส่งเสริมให้นักศึกษาทุกหลักสูตรแข่งขันกีฬาภายในสถาบันเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กันภายในวิทยาลัย และชมรม ถ่ายภาพ ได้ออกค่ายอาสาร่วมกับชมรมโสตทัศนศึกษาแห่งประเทศไทยที่ผ่านมา เป็นต้น โดยกิจกรรมนักศึกษาเหล่านี้นักศึกษาจำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาแต่ละประเภท ซึ่งจะส่งผลจต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องด้านการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาที่ได้กล่าวไปแล้ว

๒) ด้านการวิจัย
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ ได้พัฒนาและจัดรายวิชาการวิจัยเข้าไว้ในแผนการเรียนการสอนของทุกหลักสูตร ในชั้นปีที่ ๒ แต่สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ (พยาธิวิทยาคลินิก) ถูกจัดไว้ในชั้นปีที่ ๑ เทอมที่ ๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ด้านการวิจัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนได้

๓) ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ นอกจากจะเปิดการเรียนการสอนแล้ว ในวิทยาลัยฯยังได้เปิดคลินิกการแพทย์แผนไทย ให้บริการโดยอาจารย์และนักศึกษาการแพทย์แผนไทยที่คอยให้บริการและให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ในชั้นปีที่ ๑ ช่วงที่ปฐมนิเทศนักศึกษาวิทยาลัยฯ ได้มีกิจกรรมจัดให้นักศึกษาได้ลงชุมชนต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยน และมีโอกาสสอบถามเกี่ยวกับวิถีชุมชนและวิถีชีวิตในชุมชน โดยจัดให้ไปในฐานะลูกบุญธรรมของครอบครัวในชุมชนนั้นในระยะเวลาสั้นๆ


๔) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ ผ่านทางกิจกรรมของสโมสรนักศึกษา และชมรมนักศึกษาได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เช่น จัดให้นักศึกษาเข้าแถวเคารพธงชาติทุกเช้า เพื่อให้นักศึกษามีจิตสำนึกในความเป็นไทย , ในวันปีใหม่ที่ผ่านมาสโมสรนักศึกษาได้จัดกิจกรรมตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งขึ้นเพื่อให้นักศึกษาชาวพุทธได้ตระหนักถึงความเป็นพุทธศาสนิกชนและช่วยกันทำนุบำรุงพุทธศาสนามิให้เสื่อมทรามลงไป และวิทยาลัยยังส่งเสริมและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวิทยาลัยนั่นคือ วัฒนธรรมการไหว้ ที่ทำให้นักศึกษารู้จักการเคารพและให้เกียรติผู้ที่อาวุโสกว่า


โดย นักศึกษาสมาชิกชมรม qa วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ปีการศึกษา ๒๕๕๓

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การเขียนโครงการตามหลักวงจร PDCA

วงจร PDCA : Plan Do Check Act 
คำอธิบายของแต่ละตัวของคำว่า PDCA
Plan (การวางแผน) หมายถึง ทักษะในการกำหนด
      เป้าหมาย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ หาวิธีการ
      และกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ โดยจะต้อง
      มีการกำหนดตัวบ่งชี้กำกับไว้ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการ
      ประเมินผลดำเนินการ
 
Do (การดำเนินงาน) หมายถึง ทักษะในการปฏิบัติ
ตามแผน ตามขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆที่กำหนดไว้
กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีการ
เปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
จะต้องมีการปรับแผนในระหว่างดำเนินการโดยมีคำ
อธิบายและเหตุผลประกอบ

Check (การประเมินผล) หมายถึง ทักษะในการ
รวบรวมข้อมูลของผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็น
ตัวบ่งชี้ที่ตั้งไว้เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผน
ในขั้นที่ ๑ ในการประเมินนี้จะต้องพิจารณาในเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพ ของผลงานด้วย ซึ่งควรจะดำเนินการในลักษณะ
กรรมการ โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องมาร่วมใน
กระบวนการประเมินด้วย เพื่อจะได้ลดอคติ และลดปัจจัย
ในการประเมินผลงานของตัวเอง โดยอาจใช้วิธีการในหลาย
รูปแบบ เช่น ใช้แบบสอบถาม ใช้การสังเกตสภาพจริง
หรือใช้การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็ได้

Act (การปรับปรุง) หมายถึง ทักษะที่ต้องการให้นำ
ผลการประเมินมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงผล
การดำเนินงานในครั้งต่อไป ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
เช่น สร้างความพึงพอใจให้มากขึ้น ผลงานได้รับรางวัล
คุณภาพ มีการประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
มีปริมาณงานมากขึ้น สร้างความคุ้มค่า
หรือสร้างคุณค่าของผลงานให้สูงขึ้น

รูปแบบการเขียนโครงการ หรือกิจกรรมนักศึกษา ตามหลัก PDCA 
    ๑. ชื่อสถาบันการศึกษา
    ๒. ชื่อโครงการหรือกิจกรรม
    ๓. หลักการและเหตุผล
    ๔. วัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจกรรม
    ๕.ระยะเวลาการดำเนินการ (ระบุวันเดือนปี)
    ๖. สถานที่ดำเนินการ
    ๗. ผู้เข้าร่วมโครงการ
    ๘. งบประมาณ ทั้งค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริง(Incash)  และมูลค่า หน่วยงานค่าใช้จ่ายที่เราไม่จำเป็้นต้องจ่าย แต่ต้องมีบันทึกไว้ในโครงการ เช่น ค่าใช้หอประชุมวิทยาลัยและโสตทัศนูปกรณ์ (In Kind)
ที่สนับสนุนงบประมาณ
    ๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ๑๐. วิธีดำเนินการโครงการ ตามระบบ PDCA
    ๑๑. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมและเกณฑ์การประเมิน
    ๑๒. ชื่อและตำแหน่งผู้เสนอโครงการ
    ๑๓. ชื่อและตำแหน่งผู้อนุมัติโครงการ
    ๑๔. วันเดือนปีที่อนุมัติโครงการ

การเขียนรายงานสรุปผลโครงการหลังจากที่มีการดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว
    ๑. ชื่อสถาบันการศึกษา
    ๒. ชื่อโครงการ
    ๓. วิธีการประเมินผลโครงการ
    ๔. ผลการดำเนินโครงการ (ภาพรวม)
    ๕. งบประมาณเบิกจ่ายจริง
    ๖. ผลสัมฤทธิ์ตาม KPI
    ๗. บรรลุหรือไม่บรรลุเป้าหมาย
    ๘. ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานโครงการ
    ๙. แนวทางแก้ไขปัญหา
    ๑๐. ข้อเสนอแนะ
    ๑๑. ภาพกิจกรรม
ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาโดยมีนักศึกษาเป็นผู้จัด โดยบังคับให้มีการจัดกิจกรรมอย่างน้อย ๕ ประเภท ดังนี้
๑ :กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
๒ :กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ
 ๓ :กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
 ๔ :กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
 ๕ : กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
 ๖ :กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
 ๗ : กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด

โดยเป็นตามตัวบ่งชี้ ๓.๒ ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา(P) 
    ที่ให้มีการส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษาอย่างน้อย ๕ ประเภทสำหรับระดับปริญญาตรี และอย่างน้อย ๒ ประเภทสำหรับระดับบัณฑิตศึกษา จากกิจกรรมข้างต้น
นอกจากนี้ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ ยังกำหนดให้
-สถาบันจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกด้าน
-ให้มีกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
-มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันและระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน
-มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
- มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

เกณฑ์การประเมิน
๑ คะแนน มีการดำเนินการ ๑ ข้อ
๒ คะแนน มีการดำเนินการ ๒ ข้อ
๓ คะแนน มีการดำเนินการ ๓ หรือ ๔ ข้อ
๕ คะแนน มีการดำเนินการ ๖ ข้อ

โดย นักศึกษาแกนนำนักศึกษา กับการประกันคุณภาพการศึกษาอบรมปี ๒๕๕๔ 
นักศึกษาชมรม QA วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ กับ มาตรฐานระบบประกันคุณภาพการศึกษา และตัวบ่งชี้ตัวใหม่ ปี ๕๓

-->
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ กับ มาตรฐานระบบประกันคุณภาพการศึกษา
         พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  ได้กำหนดให้สถานศึกษาต้องทำการประกันคุณภาพภายใน และให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ทำการประกันคุณภาพภายนอกโดยกำหนดอย่างน้อย ๑ ครั้ง ทุก ๕ปี
       ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ หมวดที่ ๖ มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา มี ๕ มาตรา
ได้แก่ มาตราที่ ๔๗ – ๕๑
มาตรา  ๔๗  ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
        ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
     มาตรา  ๔๘  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา    จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่า  การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและ   มาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
     มาตรา  ๔๙   ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน  และประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมิน       คุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้   
                ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก   ห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

มาตรา  ๕๐  ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากร  คณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามคำร้อง   ขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงาน     ดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพของสถานศึกษานั้น

มาตรา  ๕๑  ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำ     ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด  เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด  หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อ    คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการ     อุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพ ของ  สกอ. และ สมศ. พ.ศ. ๒๕๕๓
 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสกอ. (พฤศจิกายน ๕๓)
-->

ภาพนิ่ง 1
-->
องค์ประกอบคุณภาพ
จำนวนตัวบ่งชี้
.ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ
. การผลิตบัณฑิต
. กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
. การวิจัย
. การบริการทางวิชาการแก่สังคม
. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
. การบริหารและการจัดการ
. การเงินและงบประมาณ
. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
รวม องค์ประกอบคุณภาพ
๒๓
รายละเอียดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ จากตาราง
องค์ประกอบที่ ๑ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๑.๑ กระบวนการพัฒนาแผน (P)
องค์ประกอบที่ ๒ จำนวน ๘ ตัวบ่งชี้
     ตัวบ่งชี้ ๒.๑ : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (P)
    ตัวบ่งชี้ ๒.๒
 : อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (I)
     ตัวบ่งชี้ ๒.๓ 
: อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (I)
     ตัวบ่งชี้ที่ ๒
.  :  ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน (P)
    ตัวบ่งชี้ที่ ๒
.  :  ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (I)
     ตัวบ่งชี้ ๒.๖
 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (P)
  ตัวบ่งชี้ ๒.๗ 
: ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียน ตามคุณลักษณะของบัณฑิต (P)
ตัวบ่งชี้ ๒.๘
 :  ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา (O)
องค์ประกอบที่ ๓ จำนวน ๒ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๓.๑  :  ระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูล ข่าวสาร(P)
ตัวบ่งชี้ ๓.๒ 
ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา(P)
องค์ประกอบที่ ๔ จำนวน ๓ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๔.๑  : ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (P)
ตัวบ่งชี้ ๔.๒
 : ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์  (P)
ตัวบ่งชี้ ๔.๓
 :  เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ (I
องค์ประกอบที่ ๕ จำนวน ๒ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๕.๑
 :  ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม (P)
ตัวบ่งชี้ ๕.๒
 :  กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม(P)
องค์ประกอบที่ ๖ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้    
ตัวบ่งชี้ ๖.๑  :  ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (P)
องค์ประกอบที่ ๗ จำนวน ๔ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๗.๑   ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับ ของสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๒ 
:  การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๓ 
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๔ 
ระบบบริหารความเสี่ยง (P)
องค์ประกอบที่ ๘ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๘.๑ 
ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ (P)
องค์ประกอบที่ ๙ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๙.๑ 
ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (P)

-->
ประเภทของตัวบ่งชี้
จำนวนตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
๑๕
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
()
ตัวบ่งชี้ที่เป็นมาตรการส่งเสริม
()
รวม
๑๘ (๒๐)
 





รายละเอียดมาตราฐานและจำนวนตัวบ่งชี้ จากตาราง
มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สมศ.(ธันวาคม ๒๕๕๓)
จำนวนมาตรฐานมี  ๔  มาตรฐาน
มาตรฐานที่  ๑  ผลการจัดการศึกษา                                               มาตรฐานที่  ๒  การบริหารจัดการศึกษา
มาตรฐานที่  ๓   การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ      มาตรฐานที่  ๔  การประกันคุณภาพภายใน
ด้านคุณภาพบัณฑิต ประกอบด้วย ๔ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ที่ ๑   ร้อยละของจำนวนบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี (O)
ตัวบ่งชี้ที่  ๒   คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา
                       แห่งชาติ
(O)
ตัวบ่งชี้  ๓  ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
(O)
ตัวบ่งชี้ที่ ๔   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์
(O)
ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์  ประกอบด้วย ๓ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ที่  ๕ งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (O)
ตัวบ่งชี้ที่ ๖
งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ (O)
ตัวบ่งชี้ที่  ๗  
ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ
(O)
ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม  ประกอบด้วย  ๒  ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๘ 
การนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัย (O)
ตัวบ่งชี้ที ๙
การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก (O)
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม              ประกอบด้วย  ๒    ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐
การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม(P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม
(P)                    
ด้านการบริหารและการพัฒนาสถาบัน ประกอบด้วย  ๓ ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๓
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔ การพัฒนาคณาจารย์
(O)
 ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน  ประกอบด้วย  ๑  ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๑๕
  ผลประเมินระบบประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด (O)
ด้านอัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ ๑๖ 
ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการดำเนินการของการจัดตั้งสถาบัน (O)     
ตัวบ่งชี้ ๑๗
ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นของสถาบัน (O)
 ด้านมาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๘
ผลการชี้นำและ/หรือแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ (O)
*หมายเหตุ (P) = Process, (I) = Input, (O) = Output // ตัวบ่งชี้ที่ ๑๖ ด้านอัตลักษณ์ กำหนดให้ทำอีก ๒ ตัวย่อย

1. กำหนดปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการดูแล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ เป็น องค์ประกอบคุณภาพ
2. กำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินปัจจัยดังกล่าวซึ่งอาจเป็นการประเมิน Input, Process, Output/Out come ตามลักษณของ ตัวบ่งชี้
3. มีข้อกำหนดกำกับแต่ละตัวบ่งชี้เพื่อใช้ตัดสินคุณภาพ  เป็นเกณฑ์
4. มีขั้นตอน วิธีการ และผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามแผนตรวจ/ประเมิน ตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็น วงจรPDCA
   
โดย นักศึกษาแกนนำอบรมเครือข่าย QA ในเครือวิทยาลัยเครือข่ายภาคกลาง ๒ จ.สุพรรณบุรี ปี ๒๕๕๔
นักศึกษาชมรมQA วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ปีการศึกษา ๒๕๕๓ 
Contact : qakmpht [ at ] gmail.com