วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การเขียนโครงการตามหลักวงจร PDCA

วงจร PDCA : Plan Do Check Act 
คำอธิบายของแต่ละตัวของคำว่า PDCA
Plan (การวางแผน) หมายถึง ทักษะในการกำหนด
      เป้าหมาย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ หาวิธีการ
      และกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ โดยจะต้อง
      มีการกำหนดตัวบ่งชี้กำกับไว้ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการ
      ประเมินผลดำเนินการ
 
Do (การดำเนินงาน) หมายถึง ทักษะในการปฏิบัติ
ตามแผน ตามขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆที่กำหนดไว้
กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีการ
เปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
จะต้องมีการปรับแผนในระหว่างดำเนินการโดยมีคำ
อธิบายและเหตุผลประกอบ

Check (การประเมินผล) หมายถึง ทักษะในการ
รวบรวมข้อมูลของผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็น
ตัวบ่งชี้ที่ตั้งไว้เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผน
ในขั้นที่ ๑ ในการประเมินนี้จะต้องพิจารณาในเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพ ของผลงานด้วย ซึ่งควรจะดำเนินการในลักษณะ
กรรมการ โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องมาร่วมใน
กระบวนการประเมินด้วย เพื่อจะได้ลดอคติ และลดปัจจัย
ในการประเมินผลงานของตัวเอง โดยอาจใช้วิธีการในหลาย
รูปแบบ เช่น ใช้แบบสอบถาม ใช้การสังเกตสภาพจริง
หรือใช้การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็ได้

Act (การปรับปรุง) หมายถึง ทักษะที่ต้องการให้นำ
ผลการประเมินมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงผล
การดำเนินงานในครั้งต่อไป ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
เช่น สร้างความพึงพอใจให้มากขึ้น ผลงานได้รับรางวัล
คุณภาพ มีการประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
มีปริมาณงานมากขึ้น สร้างความคุ้มค่า
หรือสร้างคุณค่าของผลงานให้สูงขึ้น

รูปแบบการเขียนโครงการ หรือกิจกรรมนักศึกษา ตามหลัก PDCA 
    ๑. ชื่อสถาบันการศึกษา
    ๒. ชื่อโครงการหรือกิจกรรม
    ๓. หลักการและเหตุผล
    ๔. วัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจกรรม
    ๕.ระยะเวลาการดำเนินการ (ระบุวันเดือนปี)
    ๖. สถานที่ดำเนินการ
    ๗. ผู้เข้าร่วมโครงการ
    ๘. งบประมาณ ทั้งค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริง(Incash)  และมูลค่า หน่วยงานค่าใช้จ่ายที่เราไม่จำเป็้นต้องจ่าย แต่ต้องมีบันทึกไว้ในโครงการ เช่น ค่าใช้หอประชุมวิทยาลัยและโสตทัศนูปกรณ์ (In Kind)
ที่สนับสนุนงบประมาณ
    ๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ๑๐. วิธีดำเนินการโครงการ ตามระบบ PDCA
    ๑๑. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมและเกณฑ์การประเมิน
    ๑๒. ชื่อและตำแหน่งผู้เสนอโครงการ
    ๑๓. ชื่อและตำแหน่งผู้อนุมัติโครงการ
    ๑๔. วันเดือนปีที่อนุมัติโครงการ

การเขียนรายงานสรุปผลโครงการหลังจากที่มีการดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว
    ๑. ชื่อสถาบันการศึกษา
    ๒. ชื่อโครงการ
    ๓. วิธีการประเมินผลโครงการ
    ๔. ผลการดำเนินโครงการ (ภาพรวม)
    ๕. งบประมาณเบิกจ่ายจริง
    ๖. ผลสัมฤทธิ์ตาม KPI
    ๗. บรรลุหรือไม่บรรลุเป้าหมาย
    ๘. ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานโครงการ
    ๙. แนวทางแก้ไขปัญหา
    ๑๐. ข้อเสนอแนะ
    ๑๑. ภาพกิจกรรม
ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาโดยมีนักศึกษาเป็นผู้จัด โดยบังคับให้มีการจัดกิจกรรมอย่างน้อย ๕ ประเภท ดังนี้
๑ :กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
๒ :กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ
 ๓ :กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
 ๔ :กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
 ๕ : กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
 ๖ :กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
 ๗ : กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด

โดยเป็นตามตัวบ่งชี้ ๓.๒ ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา(P) 
    ที่ให้มีการส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษาอย่างน้อย ๕ ประเภทสำหรับระดับปริญญาตรี และอย่างน้อย ๒ ประเภทสำหรับระดับบัณฑิตศึกษา จากกิจกรรมข้างต้น
นอกจากนี้ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ ยังกำหนดให้
-สถาบันจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกด้าน
-ให้มีกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
-มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันและระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน
-มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
- มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

เกณฑ์การประเมิน
๑ คะแนน มีการดำเนินการ ๑ ข้อ
๒ คะแนน มีการดำเนินการ ๒ ข้อ
๓ คะแนน มีการดำเนินการ ๓ หรือ ๔ ข้อ
๕ คะแนน มีการดำเนินการ ๖ ข้อ

โดย นักศึกษาแกนนำนักศึกษา กับการประกันคุณภาพการศึกษาอบรมปี ๒๕๕๔ 
นักศึกษาชมรม QA วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ กับ มาตรฐานระบบประกันคุณภาพการศึกษา และตัวบ่งชี้ตัวใหม่ ปี ๕๓

-->
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ กับ มาตรฐานระบบประกันคุณภาพการศึกษา
         พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  ได้กำหนดให้สถานศึกษาต้องทำการประกันคุณภาพภายใน และให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ทำการประกันคุณภาพภายนอกโดยกำหนดอย่างน้อย ๑ ครั้ง ทุก ๕ปี
       ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ หมวดที่ ๖ มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา มี ๕ มาตรา
ได้แก่ มาตราที่ ๔๗ – ๕๑
มาตรา  ๔๗  ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
        ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
     มาตรา  ๔๘  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา    จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่า  การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและ   มาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
     มาตรา  ๔๙   ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน  และประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมิน       คุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้   
                ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก   ห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

มาตรา  ๕๐  ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากร  คณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามคำร้อง   ขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงาน     ดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพของสถานศึกษานั้น

มาตรา  ๕๑  ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำ     ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด  เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด  หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อ    คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการ     อุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพ ของ  สกอ. และ สมศ. พ.ศ. ๒๕๕๓
 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสกอ. (พฤศจิกายน ๕๓)
-->

ภาพนิ่ง 1
-->
องค์ประกอบคุณภาพ
จำนวนตัวบ่งชี้
.ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ
. การผลิตบัณฑิต
. กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
. การวิจัย
. การบริการทางวิชาการแก่สังคม
. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
. การบริหารและการจัดการ
. การเงินและงบประมาณ
. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
รวม องค์ประกอบคุณภาพ
๒๓
รายละเอียดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ จากตาราง
องค์ประกอบที่ ๑ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๑.๑ กระบวนการพัฒนาแผน (P)
องค์ประกอบที่ ๒ จำนวน ๘ ตัวบ่งชี้
     ตัวบ่งชี้ ๒.๑ : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (P)
    ตัวบ่งชี้ ๒.๒
 : อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (I)
     ตัวบ่งชี้ ๒.๓ 
: อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (I)
     ตัวบ่งชี้ที่ ๒
.  :  ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน (P)
    ตัวบ่งชี้ที่ ๒
.  :  ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (I)
     ตัวบ่งชี้ ๒.๖
 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (P)
  ตัวบ่งชี้ ๒.๗ 
: ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียน ตามคุณลักษณะของบัณฑิต (P)
ตัวบ่งชี้ ๒.๘
 :  ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา (O)
องค์ประกอบที่ ๓ จำนวน ๒ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๓.๑  :  ระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูล ข่าวสาร(P)
ตัวบ่งชี้ ๓.๒ 
ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา(P)
องค์ประกอบที่ ๔ จำนวน ๓ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๔.๑  : ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (P)
ตัวบ่งชี้ ๔.๒
 : ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์  (P)
ตัวบ่งชี้ ๔.๓
 :  เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ (I
องค์ประกอบที่ ๕ จำนวน ๒ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๕.๑
 :  ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม (P)
ตัวบ่งชี้ ๕.๒
 :  กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม(P)
องค์ประกอบที่ ๖ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้    
ตัวบ่งชี้ ๖.๑  :  ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (P)
องค์ประกอบที่ ๗ จำนวน ๔ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๗.๑   ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับ ของสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๒ 
:  การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๓ 
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๔ 
ระบบบริหารความเสี่ยง (P)
องค์ประกอบที่ ๘ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๘.๑ 
ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ (P)
องค์ประกอบที่ ๙ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๙.๑ 
ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (P)

-->
ประเภทของตัวบ่งชี้
จำนวนตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
๑๕
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
()
ตัวบ่งชี้ที่เป็นมาตรการส่งเสริม
()
รวม
๑๘ (๒๐)
 





รายละเอียดมาตราฐานและจำนวนตัวบ่งชี้ จากตาราง
มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สมศ.(ธันวาคม ๒๕๕๓)
จำนวนมาตรฐานมี  ๔  มาตรฐาน
มาตรฐานที่  ๑  ผลการจัดการศึกษา                                               มาตรฐานที่  ๒  การบริหารจัดการศึกษา
มาตรฐานที่  ๓   การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ      มาตรฐานที่  ๔  การประกันคุณภาพภายใน
ด้านคุณภาพบัณฑิต ประกอบด้วย ๔ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ที่ ๑   ร้อยละของจำนวนบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี (O)
ตัวบ่งชี้ที่  ๒   คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา
                       แห่งชาติ
(O)
ตัวบ่งชี้  ๓  ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
(O)
ตัวบ่งชี้ที่ ๔   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์
(O)
ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์  ประกอบด้วย ๓ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ที่  ๕ งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (O)
ตัวบ่งชี้ที่ ๖
งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ (O)
ตัวบ่งชี้ที่  ๗  
ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ
(O)
ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม  ประกอบด้วย  ๒  ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๘ 
การนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัย (O)
ตัวบ่งชี้ที ๙
การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก (O)
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม              ประกอบด้วย  ๒    ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐
การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม(P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม
(P)                    
ด้านการบริหารและการพัฒนาสถาบัน ประกอบด้วย  ๓ ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๓
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔ การพัฒนาคณาจารย์
(O)
 ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน  ประกอบด้วย  ๑  ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๑๕
  ผลประเมินระบบประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด (O)
ด้านอัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ ๑๖ 
ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการดำเนินการของการจัดตั้งสถาบัน (O)     
ตัวบ่งชี้ ๑๗
ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นของสถาบัน (O)
 ด้านมาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๘
ผลการชี้นำและ/หรือแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ (O)
*หมายเหตุ (P) = Process, (I) = Input, (O) = Output // ตัวบ่งชี้ที่ ๑๖ ด้านอัตลักษณ์ กำหนดให้ทำอีก ๒ ตัวย่อย

1. กำหนดปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการดูแล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ เป็น องค์ประกอบคุณภาพ
2. กำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินปัจจัยดังกล่าวซึ่งอาจเป็นการประเมิน Input, Process, Output/Out come ตามลักษณของ ตัวบ่งชี้
3. มีข้อกำหนดกำกับแต่ละตัวบ่งชี้เพื่อใช้ตัดสินคุณภาพ  เป็นเกณฑ์
4. มีขั้นตอน วิธีการ และผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามแผนตรวจ/ประเมิน ตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็น วงจรPDCA
   
โดย นักศึกษาแกนนำอบรมเครือข่าย QA ในเครือวิทยาลัยเครือข่ายภาคกลาง ๒ จ.สุพรรณบุรี ปี ๒๕๕๔
นักศึกษาชมรมQA วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ปีการศึกษา ๒๕๕๓ 
Contact : qakmpht [ at ] gmail.com

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา [QA]


 การประกันคุณภาพการศึกษา  หมายถึง   กิจกรรม หรือแนวปฏิบัติใด ๆ  ที่หากดำเนินการตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว  จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มี     คุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
 ๑) การประกันคุณภาพภายใน
คือ การประเมินผลและติดตามการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเองหรือโดย   หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
      ให้สถานศึกษาแต่ละแห่ง ทำการประเมินคุณภาพการศึกษาของตัวเองทุกปี หรือให้หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น โดยให้จัดทำรายงานประจำปี (SAR) เพื่อประเมิน ตรวจสอบตนเอง และวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็ง(จุดเด่น) โดยจัดทำรายงาน SAR โดยบุคลากรภายในวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษานั้นๆ ต้องทำทุกปีตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๔๒ หมวดที่ ๖ ว่าด้วยเรื่อง มาตราฐานการประกันคุณภาพการศึกษา
๒) การประกันคุณภาพภายนอก คือประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก
 โดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน  และประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคลากรหรือหน่วยงานภายนอกที่              สำนักงานดังกล่าวรับรอง  เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
       ให้สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทำการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย ๑ ครั้ง ทุก ๕ ปี
 _____________
ภายในปี ๒๕๕๕ สถาบันการศึกษาต้องปรับหลักสูตรให้เข้ากับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF : Thai Qualifications_ Framework for Higher Education; TQF : HEd.  แต่ ทางสถาบันพระบรมราชชนก มีกำหนดปรับหลักสูตรใหม่ให้เข้ากับ TQF ในปี ๒๕๕๔


  นักศึกษาชมรมการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓