วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ กับ มาตรฐานระบบประกันคุณภาพการศึกษา และตัวบ่งชี้ตัวใหม่ ปี ๕๓

-->
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ กับ มาตรฐานระบบประกันคุณภาพการศึกษา
         พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  ได้กำหนดให้สถานศึกษาต้องทำการประกันคุณภาพภายใน และให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ทำการประกันคุณภาพภายนอกโดยกำหนดอย่างน้อย ๑ ครั้ง ทุก ๕ปี
       ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ หมวดที่ ๖ มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา มี ๕ มาตรา
ได้แก่ มาตราที่ ๔๗ – ๕๑
มาตรา  ๔๗  ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
        ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
     มาตรา  ๔๘  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา    จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่า  การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและ   มาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
     มาตรา  ๔๙   ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน  และประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมิน       คุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้   
                ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก   ห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

มาตรา  ๕๐  ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากร  คณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามคำร้อง   ขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงาน     ดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพของสถานศึกษานั้น

มาตรา  ๕๑  ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำ     ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด  เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด  หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อ    คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการ     อุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพ ของ  สกอ. และ สมศ. พ.ศ. ๒๕๕๓
 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสกอ. (พฤศจิกายน ๕๓)
-->

ภาพนิ่ง 1
-->
องค์ประกอบคุณภาพ
จำนวนตัวบ่งชี้
.ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ
. การผลิตบัณฑิต
. กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
. การวิจัย
. การบริการทางวิชาการแก่สังคม
. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
. การบริหารและการจัดการ
. การเงินและงบประมาณ
. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
รวม องค์ประกอบคุณภาพ
๒๓
รายละเอียดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ จากตาราง
องค์ประกอบที่ ๑ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๑.๑ กระบวนการพัฒนาแผน (P)
องค์ประกอบที่ ๒ จำนวน ๘ ตัวบ่งชี้
     ตัวบ่งชี้ ๒.๑ : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (P)
    ตัวบ่งชี้ ๒.๒
 : อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (I)
     ตัวบ่งชี้ ๒.๓ 
: อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (I)
     ตัวบ่งชี้ที่ ๒
.  :  ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน (P)
    ตัวบ่งชี้ที่ ๒
.  :  ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (I)
     ตัวบ่งชี้ ๒.๖
 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (P)
  ตัวบ่งชี้ ๒.๗ 
: ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียน ตามคุณลักษณะของบัณฑิต (P)
ตัวบ่งชี้ ๒.๘
 :  ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา (O)
องค์ประกอบที่ ๓ จำนวน ๒ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๓.๑  :  ระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูล ข่าวสาร(P)
ตัวบ่งชี้ ๓.๒ 
ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา(P)
องค์ประกอบที่ ๔ จำนวน ๓ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๔.๑  : ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (P)
ตัวบ่งชี้ ๔.๒
 : ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์  (P)
ตัวบ่งชี้ ๔.๓
 :  เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ (I
องค์ประกอบที่ ๕ จำนวน ๒ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๕.๑
 :  ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม (P)
ตัวบ่งชี้ ๕.๒
 :  กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม(P)
องค์ประกอบที่ ๖ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้    
ตัวบ่งชี้ ๖.๑  :  ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (P)
องค์ประกอบที่ ๗ จำนวน ๔ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๗.๑   ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับ ของสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๒ 
:  การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๓ 
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ (P)
ตัวบ่งชี้ ๗.๔ 
ระบบบริหารความเสี่ยง (P)
องค์ประกอบที่ ๘ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๘.๑ 
ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ (P)
องค์ประกอบที่ ๙ จำนวน ๑ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๙.๑ 
ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (P)

-->
ประเภทของตัวบ่งชี้
จำนวนตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน
๑๕
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
()
ตัวบ่งชี้ที่เป็นมาตรการส่งเสริม
()
รวม
๑๘ (๒๐)
 





รายละเอียดมาตราฐานและจำนวนตัวบ่งชี้ จากตาราง
มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สมศ.(ธันวาคม ๒๕๕๓)
จำนวนมาตรฐานมี  ๔  มาตรฐาน
มาตรฐานที่  ๑  ผลการจัดการศึกษา                                               มาตรฐานที่  ๒  การบริหารจัดการศึกษา
มาตรฐานที่  ๓   การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ      มาตรฐานที่  ๔  การประกันคุณภาพภายใน
ด้านคุณภาพบัณฑิต ประกอบด้วย ๔ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ที่ ๑   ร้อยละของจำนวนบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี (O)
ตัวบ่งชี้ที่  ๒   คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา
                       แห่งชาติ
(O)
ตัวบ่งชี้  ๓  ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
(O)
ตัวบ่งชี้ที่ ๔   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์
(O)
ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์  ประกอบด้วย ๓ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ที่  ๕ งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (O)
ตัวบ่งชี้ที่ ๖
งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ (O)
ตัวบ่งชี้ที่  ๗  
ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ
(O)
ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม  ประกอบด้วย  ๒  ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๘ 
การนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัย (O)
ตัวบ่งชี้ที ๙
การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก (O)
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม              ประกอบด้วย  ๒    ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐
การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม(P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม
(P)                    
ด้านการบริหารและการพัฒนาสถาบัน ประกอบด้วย  ๓ ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๓
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน (P)
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔ การพัฒนาคณาจารย์
(O)
 ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน  ประกอบด้วย  ๑  ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ ๑๕
  ผลประเมินระบบประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด (O)
ด้านอัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ ๑๖ 
ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการดำเนินการของการจัดตั้งสถาบัน (O)     
ตัวบ่งชี้ ๑๗
ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นของสถาบัน (O)
 ด้านมาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๘
ผลการชี้นำและ/หรือแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ (O)
*หมายเหตุ (P) = Process, (I) = Input, (O) = Output // ตัวบ่งชี้ที่ ๑๖ ด้านอัตลักษณ์ กำหนดให้ทำอีก ๒ ตัวย่อย

1. กำหนดปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยที่ต้องได้รับการดูแล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ เป็น องค์ประกอบคุณภาพ
2. กำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินปัจจัยดังกล่าวซึ่งอาจเป็นการประเมิน Input, Process, Output/Out come ตามลักษณของ ตัวบ่งชี้
3. มีข้อกำหนดกำกับแต่ละตัวบ่งชี้เพื่อใช้ตัดสินคุณภาพ  เป็นเกณฑ์
4. มีขั้นตอน วิธีการ และผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามแผนตรวจ/ประเมิน ตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็น วงจรPDCA
   
โดย นักศึกษาแกนนำอบรมเครือข่าย QA ในเครือวิทยาลัยเครือข่ายภาคกลาง ๒ จ.สุพรรณบุรี ปี ๒๕๕๔
นักศึกษาชมรมQA วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ปีการศึกษา ๒๕๕๓ 
Contact : qakmpht [ at ] gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น