วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การเขียนโครงการตามหลักวงจร PDCA

วงจร PDCA : Plan Do Check Act 
คำอธิบายของแต่ละตัวของคำว่า PDCA
Plan (การวางแผน) หมายถึง ทักษะในการกำหนด
      เป้าหมาย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ หาวิธีการ
      และกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ โดยจะต้อง
      มีการกำหนดตัวบ่งชี้กำกับไว้ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการ
      ประเมินผลดำเนินการ
 
Do (การดำเนินงาน) หมายถึง ทักษะในการปฏิบัติ
ตามแผน ตามขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆที่กำหนดไว้
กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีการ
เปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
จะต้องมีการปรับแผนในระหว่างดำเนินการโดยมีคำ
อธิบายและเหตุผลประกอบ

Check (การประเมินผล) หมายถึง ทักษะในการ
รวบรวมข้อมูลของผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็น
ตัวบ่งชี้ที่ตั้งไว้เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผน
ในขั้นที่ ๑ ในการประเมินนี้จะต้องพิจารณาในเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพ ของผลงานด้วย ซึ่งควรจะดำเนินการในลักษณะ
กรรมการ โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องมาร่วมใน
กระบวนการประเมินด้วย เพื่อจะได้ลดอคติ และลดปัจจัย
ในการประเมินผลงานของตัวเอง โดยอาจใช้วิธีการในหลาย
รูปแบบ เช่น ใช้แบบสอบถาม ใช้การสังเกตสภาพจริง
หรือใช้การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็ได้

Act (การปรับปรุง) หมายถึง ทักษะที่ต้องการให้นำ
ผลการประเมินมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงผล
การดำเนินงานในครั้งต่อไป ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
เช่น สร้างความพึงพอใจให้มากขึ้น ผลงานได้รับรางวัล
คุณภาพ มีการประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
มีปริมาณงานมากขึ้น สร้างความคุ้มค่า
หรือสร้างคุณค่าของผลงานให้สูงขึ้น

รูปแบบการเขียนโครงการ หรือกิจกรรมนักศึกษา ตามหลัก PDCA 
    ๑. ชื่อสถาบันการศึกษา
    ๒. ชื่อโครงการหรือกิจกรรม
    ๓. หลักการและเหตุผล
    ๔. วัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจกรรม
    ๕.ระยะเวลาการดำเนินการ (ระบุวันเดือนปี)
    ๖. สถานที่ดำเนินการ
    ๗. ผู้เข้าร่วมโครงการ
    ๘. งบประมาณ ทั้งค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริง(Incash)  และมูลค่า หน่วยงานค่าใช้จ่ายที่เราไม่จำเป็้นต้องจ่าย แต่ต้องมีบันทึกไว้ในโครงการ เช่น ค่าใช้หอประชุมวิทยาลัยและโสตทัศนูปกรณ์ (In Kind)
ที่สนับสนุนงบประมาณ
    ๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ๑๐. วิธีดำเนินการโครงการ ตามระบบ PDCA
    ๑๑. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมและเกณฑ์การประเมิน
    ๑๒. ชื่อและตำแหน่งผู้เสนอโครงการ
    ๑๓. ชื่อและตำแหน่งผู้อนุมัติโครงการ
    ๑๔. วันเดือนปีที่อนุมัติโครงการ

การเขียนรายงานสรุปผลโครงการหลังจากที่มีการดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว
    ๑. ชื่อสถาบันการศึกษา
    ๒. ชื่อโครงการ
    ๓. วิธีการประเมินผลโครงการ
    ๔. ผลการดำเนินโครงการ (ภาพรวม)
    ๕. งบประมาณเบิกจ่ายจริง
    ๖. ผลสัมฤทธิ์ตาม KPI
    ๗. บรรลุหรือไม่บรรลุเป้าหมาย
    ๘. ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานโครงการ
    ๙. แนวทางแก้ไขปัญหา
    ๑๐. ข้อเสนอแนะ
    ๑๑. ภาพกิจกรรม
ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาโดยมีนักศึกษาเป็นผู้จัด โดยบังคับให้มีการจัดกิจกรรมอย่างน้อย ๕ ประเภท ดังนี้
๑ :กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
๒ :กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ
 ๓ :กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
 ๔ :กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
 ๕ : กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
 ๖ :กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
 ๗ : กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด

โดยเป็นตามตัวบ่งชี้ ๓.๒ ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา(P) 
    ที่ให้มีการส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษาอย่างน้อย ๕ ประเภทสำหรับระดับปริญญาตรี และอย่างน้อย ๒ ประเภทสำหรับระดับบัณฑิตศึกษา จากกิจกรรมข้างต้น
นอกจากนี้ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ ยังกำหนดให้
-สถาบันจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกด้าน
-ให้มีกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
-มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันและระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน
-มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
- มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

เกณฑ์การประเมิน
๑ คะแนน มีการดำเนินการ ๑ ข้อ
๒ คะแนน มีการดำเนินการ ๒ ข้อ
๓ คะแนน มีการดำเนินการ ๓ หรือ ๔ ข้อ
๕ คะแนน มีการดำเนินการ ๖ ข้อ

โดย นักศึกษาแกนนำนักศึกษา กับการประกันคุณภาพการศึกษาอบรมปี ๒๕๕๔ 
นักศึกษาชมรม QA วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น